วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

42 ปีที่จากไปของ "ราชาเพลงลูกทุ่ง" (สุรพล สมบัติเจริญ)

42 ปีที่จากไปของ “ราชาเพลงลูกทุ่ง”     สุรพล   สมบัติเจริญ


    สุรพล  สมบัติเจริญ  ชื่อจริง  ลำดวน  สมบัติเจริญ  เกิดเมื่อวันจันทร์ที่   28 เมษายน  พ.ศ.2473
พ่อชื่อ เปลื้อง แม่ชื่อวงศ์  สมบัติเจริญ  ที่บ้านเลขที่ 125 ถนนนางพิมพ์ อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง  6 คน
ด้วยกัน คือ
                         1. อุดม     สมบัติเจริญ
                         2. ลำดวน  สมบัติเจริญ  (สุรพล  สมบัติเจริญ)    
                         3. จินดา    สมบัติเจริญ  
                         4. เฉลียว   สมบัติเจริญ      
                         5. ไสว       สมบัติเจริญ            
                                                                     6. สมาน    สมบัติเจริญ
 
                                    หวนรำลึก  เมื่อครั้ง  ครูยังอยู่
                                    ชื่อของครู  สุรพล  คนหลงใหล
                                    ทุกบทเพลง  ที่ครูร้อง  ครองหัวใจ
                                    ฟังเมื่อใด  ซาบซึ้ง  ตรึงอุรา
                                            ทั้งสาวแก่  แม่หม้าย  สมัยนั้น
                                    ต่างพากัน  คลั่งไคล้  ใฝ่ฝันหา
                                    วิทยุ  เปิดฟัง  ทุกหลังคา
                                    คุณยายย่า  ตะบันหมาก  ยังอยากฟัง
                                            ร้องเพลงไหน  เพลงนั้นดัง  รั้งไม่อยู่
                                    เสียงของครู  สุรพล  มีมนต์ขลัง
                                    เพลงสนุก  ครั้นเครง  ครูเก่งจัง
                                    แม้กระทั้ง  เพลงหวาน  ยังซ่านใจ
                                           ที่สิบหก  สิงหา  ดุจฟ้าสั่ง
                                    เสียงปืนปัง  ดังก้อง  หนองปลาไหล
                                    ชีวิตครู  ต้องพราก  จากโลกไป
                                    ทิ้งแฟนให้  ร่ำหา ….. เศร้าอาดูร


 


                                    

รักคงยังไม่พอ

อีกเพลงที่มีความหมายดีๆๆ



เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง
ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละครและเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกหมด (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่[1]
ส่วนคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" อาจารย์จำนง รังสิกุล คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507[2] เพลงลูกทุ่งมีความชัดเจนจากเพลงลูกกรุงโดยประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ ใช้ชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง"[3]
สุรพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ในช่วงปี พ.ศ. 2506 –2513 จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง ได้เกิดการแข่งขัน และยังมีนักร้องลูกทุ่งเกิดขึ้นใหม่หลายคน ต่อมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เพลงลูกทุ่งก็อยู่ในยุคเพลงเพื่อชีวิต เนื้อหาเพลงลูกทุ่ง ได้สอดแทรกเนื้อหาเพลงเพื่อชีวิต โดยในยุคนั้นมีเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น ระหว่าง พ.ศ. 2520–2528 วงดนตรีเพลงลูกทุ่งได้เข้าสู่ระบบทุนมากขึ้น มีการแสดงเพลงลูกทุ่งมีการประกวดประชันการเต้นและเครื่องแต่งกายของหางเครื่องประกอบ จนในปัจจุบัน มีศิลปินลูกทุ่งหน้าใหม่เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งของค่ายเพลงหน้าใหม่ ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดใหญ่ เพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมอีกครั้ง และมีการมอบรางวัลทางดนตรีลูกทุ่งอยู่หลายรางวัล
สำหรับธุรกิจเพลงลูกทุ่งในปัจจุบันถือเป็นตลาดใหญ่ มีทั้งค่ายเล็ก ค่ายใหญ่ เป็นจำนวนมาก โดยสัดส่วนของเงินในตลาดเพลงลูกทุ่งครอง คาดการณ์น่าจะอยู่ที่ ปีละ 1,000-1,500 ล้านบาท โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ภาคอีสาน 50% ภาคเหนือและภาคกลาง 35% และภาคใต้ 15% และสัดส่วนการแบ่งตลาด มีแกรมมี่ โกลด์ ครองส่วนแบ่งการตลาดเพลงลูกทุ่งทั่วประเทศ 65% ส่วนอาร์สยาม 19% และอื่นๆ 16% ซึ่งธุรกิจเพลงลูกทุ่งได้ขยายไปสู่ธุรกิจใกล้เคียงอย่างสื่อวิทยุ โทรทัศน์และภาพยนตร์
เพลงลูกทุ่งฟังแล้วเพลิดเพลินใจ
เก่งมากเลย

หัวใจผมว่าง สุรพล สมบัติเจริญ


เนื้อเพลง หัวใจผมว่าง

หัวใจผมว่าง จะมีใครบ้าง จับจอง
เปิดโอกาสให้คุณครอบครอง
มาจับมาจองหัวใจผมได้
รับรองไม่เสียนายหน้าแป๊ะเจี๊ยะแต่อย่างใด
ให้คุณผู้หญิงมาจองไว้ แต่คุณผู้ชายผมห้ามจอง

หัวใจผมว่างเหมือนตึกที่สร้างไฉไล
หากมาจองกันช้าไปคุณจะเสียใจที่ไม่ได้ห้อง
หากคุณมาช้าคนอื่นเขาคว้าใจผมไปครอง
ถ้าหากคุณพลาดการเป็นเจ้าของ
แล้วคุณจะต้อง เสียดาย

ถ้าหากคุณจอง รับรองเมื่อไหร่เมื่อนั้น
ผมบริการรับใช้มิได้แหนงหน่าย
ยามกินจะป้อน ยามร้อนจะพัดให้
คุณเมื่อยคุณปวดผมนวดยังไหว
ให้คุณเป็นนายใจผม

หัวใจผมว่างให้คุณมานั่งบงการ
ให้คุณชี้นิ้วใช้งาน แล้วแต่คุณนั้นจะขู่หรือข่ม
ผมขอรับใช้อยู่กับคุณนายที่ผมนิยม
ถ้าหากคุณเห็นเหมาะสม
มาจองใจผมเป็นของคุณ

เพลงเพราะๆ  จากครูเพลง  สุรพล  สมบัติเจริญ

สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งไทย

สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งไทย


หากกล่าวถึง สุรพล สมบัติเจริญ ในยุคนี้ อาจจะไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก  แต่หากย้อนกลับไป ในราวปลาย พ.ศ. 2490 กว่า ถึงพ.ศ. 2500  ต้นๆ   ทุกคนในยุคนั้น ต่างยอมรับว่าเขาคือ ราชาแห่งเพลงลูกทุ่งไทย
เมืองสุพรรณบุรี คือบ้านเกิดของเขา  ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า เป็น เมืองหลวงแห่งวงการลูกทุ่งไทยเลยก็ว่าได้  เนื่องจากเป็นจังหวัดที่กำเนิด นักร้องลูกทุ่งชื่อดังมากมาก อาธิเช่น  สุรพล สมบัติเจริญ ,  ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ,ขวัญจิต ศรีประจันต์ ,  ศรเพชร ศรสุพรรณ ,  พุ่มพวง ดวงจันทร์ ( ราชินี ลูกทุ่ง ), สายัณห์ สัญญา  ฯลฯ อาจรวมถึง ราชาเพลงเพื่อชีวิต แอ๊ด คาราบาว  และ คุณ โฟล์คเหน่อ แห่งบางโอเคเนชั่น ที่กำลังจะดังเป็นพลุต่อไปในอนาคต (ขออภัยที่พาดพิงครับ )
สุรพล ตั้งวงดนตรี สุรพล สมบัติเจริญ ในปี 2503  และมีชื่อเสียงโด่งดังมาก  ภาพของพวงมาลัยล้นคอ และการหยักคิ้ว หลิ่วตา ขณะร้องเพลง ยังเป็นที่จดจำของแฟนๆ
ในยุคที่ทุกบ้านในต่างจังหวัดล้วนมีวิทยุทรานซิสเตอร์ฟังกัน  ต้องคอยหมุนคลื่นมาฟังรายการเพลงลูกทุ่ง ในคลื่น เอเอ็ม ทุกบ้านล้วนเปิดเพลงของ สุรพล ดังกระหึ่ม  การที่ครูสุรพล ที่ไม่ใช่คนหน้าตาดี  จึงไม่ใช่ปัญหาของความมีชื่อเสียงในสังคมเพลงลูกทุ่ง สมัยนั้น

ด้วยการที่ครูสุรพล เป็นคนแต่งเนื้อร้อง และทำนองเอง และมีเอกลักษณ์ในเสียงร้อง  และ สไตล์การร้องเพลงที่ไม่เหมือนใคร  ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของแฟนเพลง  ประกอบกับเนื้อหา ของเพลงที่เป็นเรื่องใกล้ตัว  เรื่อง ชมสาว ทำนองเพลงที่สนุกสนาน ในจังหวะเพลงรำวง จึงทำให้เพลงโด่งดังอย่างรวดเร็ว
โดยครูเองจะไม่รับนักร้องที่มีแนวเสียงเลียงเสียงครูเข้าวง เพราะครูว่าจะดังได้อย่างไร  เล่ากันว่า ครูเป็นคนเข้มงวด มีวินัย และ ตรงต่อเวลามาก การปกครองลูกน้องกว่า 100 ชีวิตในวงดนตรีลูกทุ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และครูก็มีส่วนผลักดันให้เกิดนักร้องลูกทุ่งชื่อดังอีกมากมาย  รวมทั้งนักร้องในยุคเดียวกันอย่าง ก้าน แก้วสุพรรณ และ ผ่องศรี วรนุช ก็เคยคิดจะตั้งวงกัน
 เพลงดังของ สุรพล สมบัติเจริญ มีมากมายครับ เช่น
ของปลอม , เสียวไส้ ,หัวใจผมว่าง ,หัวใจเดาะ ,เสียงเรียกจากหนุ่มไทย ,รักน้องบ่มีเงินแต่ง, แฟนจ๋า ,หนึ่งในดำเนิน , แน่ข้างเดียว , แซซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง ,หนาวจะตายอยู่แล้ว, เป็นโสดทำไม , สาวสวนแตง,น้ำตาจ่าโท, 16 ปี แห่งความหลัง ,หัวใจผมว่าง , มอง , บ้านน้อยหลังนี้ ฯลฯ

ชื่อเสียงของสุรพล ดังจนมีการหยิบเอาไปสร้างเป็นภาพยนต์  ในชื่อเดียวกับเพลงสุดท้ายที่เขาแต่งไว้
เพลงสิบหกปีแห่งความหลัง
16 ปี แห่งความหลัง  ( 16 ปี แห่งความหลัง  ทั้งรัก ทั้งชัง ทั้งหวาน และ ขมขื่น 
16 ปี เหมือน 16 วัน รักเอ๋ย ช่างสั้นไม่ยั้งยืน มีหวาน มีชื่น มีขื่น มีขม ...............  )
เรื่อง 16 ปี แห่งความหลัง ฉาย พ.ศ.2511
เรื่องราวจากชีวิตจริงของ ราชาเพลงลุกทุ่ง " สุรพล สมบัติเจิญ" แสดงโดยดารา คู่ขวัญที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้น กับ 8 เพลงอมตะของ สุรพล สมบัติเจริญ เรื่องราวการฝันฝ่ากว่าจะไปถึงดวงดาวของ ราชา นักร้อง และเรื่องความรักที่มีสุขและขมขื่น ที่ โลดโผนกว่านิยายมากนัก ร่วมกันรำลึก ถึงราชาเพลงลูกทุ่ง และ คู่ขวัญ มิตร เพชรา
หลังจากการถูกดักยิงเสียชีวิตของ สุรพล สมบัติเจริญ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2511 ณ. วิก แสงจันทร์ จ. นครปฐม
คุณพ่อ เปลื้อง  สมบัติเจริญ บิดา  ได้ออกทุนสร้างหนัง สุรพล ลูกพ่อ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับสุรพลด้วยครับ
สุรพล ลูกพ่อ  ฉายปลายปี 2511
หนัง สุรพล ลูกพ่อ นำแสดงโดย บรรจบ ใจพระ(บรรจบ เจริญพร) คู่กับโสภา สถาพร   โดย ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง และพ่อเปลื้องก็นำครอบครัวสมบัติเจริญ เข้าร่วมแสดงในเรื่องนี้ด้วย ยกเว้นศรีนวล สมบัติเจริญ ลูกสะใภ้และวงดนตรีสุรพล ที่ไปร่วมงานกับหนังชีวิตสุรพลอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่อง 16ปี แห่งความหลัง  ซึ่งฉายพร้อมกันในช่วงปลายปี 2511